

การแข่งขันแข่งขันทักษะวิชาการ “การประยุกต์ใช้งานไอซีเชิงเส้น เพื่อออกแบบวงจรขยายสัญญาณที่ใช้ไอซีเชิงเส้น พร้อมวงจรภาคจ่ายไฟแบบรักษาระดับแรงดันคงที่”
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดโครงการแข่งขันแข่งขันทักษะวิชาการ “การประยุกต์ใช้งานไอซีเชิงเส้น เพื่อออกแบบวงจรขยายสัญญาณที่ใช้ไอซีเชิงเส้น พร้อมวงจรภาคจ่ายไฟแบบรักษาระดับแรงดันคงที่” ในระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1895 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคาร 18 ภายใต้งานราชภัฏบุรีรัมย์มหกรรมวิชาการและวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 6 ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน ด้วยศาสตร์และศิลป์ของพระราชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 8 ทีมด้วยกัน โดยมีคณะกรรมการ 3 ท่านดังนี้
- นายประเสริฐ ม่วงการ
- อาจารย์ฐากูร ไชยโคตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เดวิทย์ ศิริพจน์
ภาพกิจกรรมการสอบภาคทฤษฏี ในช่วงเช้า
หลักการและเหตุผล
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไอซีเชิงเส้นที่ได้รับความนิยมใช้งานเป็นอย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระบบอนาล็อกและดิจิตอล เนื่องจากเป็นไอซีเชิงเส้นอเนกประสงค์ สามารถทำงานได้หลายลักษณะ ราคาไม่แพง ทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็กลงและมีเสถียรภาพในการทำงานมากขึ้น โดยมีผู้ให้คำนิยามของออปแอมป์ ไว้พอสังเขปดังนี้ ออปแอมป์คือ วงจรขยายโอเพอเรชัน (Operational Amplifier : Op-Amp) เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ไดโอด และตัวต้านทานมาประกอบกันขึ้นในรูปของวงจรรวมที่เรียกว่า ไอซี ที่มีอัตราการขยายแรงดัน ไฟฟ้าที่สูงมากมีขั้วต่ออินพุตจำนวน 2 ขั้วต่อที่มีความต้านทานสูงมาก ได้แก่ ขั้วต่อขาอินพุตแบบชนิดไม่กลับขั้ว ขั้วต่อทางด้านอินพุตอีกขั้วหนึ่งถูกกำหนดให้เป็นอินพุตแบบชนิดกลับขั้ว และมีขั้วต่อทางด้านเอาต์พุต 1 ขั้ว ที่มีความต้านทานอินพุตต่ำมาก และมีขาต่อไฟเลี้ยง ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรือยมาจนถึงปัจจุบันด้วยข้อดีหลายประการ เช่น ราคาถูก ง่ายในการต่อใช้งาน มีขนาดเล็กกะทัดรัด และต่อร่วมใช้งานกับอุปกรณ์ภายนอกไม่มาก ทำให้ออปแอมป์ที่ผลิตมาใช้งานมีหลายเบอร์ หลายรูปแบบ
การพัฒนานักศึกษาในด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น การฝึกฝนทักษะให้กับนักศึกษาก็ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นเช่นกัน การฝึกในการปฏิบัติงานการออกแบบวงจรโดยการนำทฤษฎีมาใช้ในการออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลจากทฤษฎีและนำมาปฏิบัติ จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้งานจริงได้ ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ในการออกแบบวงจรขยายสัญญาณด้วยไอซีเชิงเส้น และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเองในงานอื่นๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อทดสอบและประเมินทักษะด้านความรู้ ด้านการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎี และประเมินความสามารถของนักศึกษาในการใช้เครื่องมือวัด การอ่านค่าและการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
- เพื่อทดสอบและประเมินทักษะการคำนวณ นำความรู้ที่ได้ไปออกแบบวงจรขยายแบบต่างๆ ด้วยไอซีเชิงเส้น และวงจรรักษาระดับแรงดันให้สามารถใช้งานได้ตามทฤษฎี
- เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันสามารถนำความรู้ที่ได้จากการแข่งขันทักษะ นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้
ลักษณะกิจกรรมและโครงการ
เป็นการแข่งขันทักษะวิชาชีพด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการศึกษาอุปกรณ์และออกแบบวงจรไอซีเชิงเส้น มาทำการวิเคราะห์เพื่อออกแบบวงจรขยายสัญญาณแบบต่างๆ นำผลที่ได้จากการคำนวณมาเลือกอุปกรณ์และนำมาใช้ในการประกอบวงจรใช้งานจริง การวางอุปกรณ์ การบัดกรี การป้อนสัญญาณและการทดสอบการทำงาน
กำหนดการและตารางกิจกรรม
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
8.00 – 8.30 น. รายงานตัวผู้เข้าแข่งขัน/ลงทะเบียน
8.30 – 9.00 น. ประชุมกรรมการ/ชี้แจงกติกาการแข่งขัน
9.00 – 12.00 น. การแข่งขันภาคทฤษฎี
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.00 น. การแข่งขันภาคปฏิบัติ
16.00 – 16.30 น. คณะกรรมการตรวจให้คะแนน ตัดสิน ประกาศผลการแข่งขัน
17.00 น. มอบรางวัล เกียรติบัตร และพิธีปิดการแข่งขัน
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566
9.00 – 12.00 น. ประชุมหารือผู้เข้าแข่งขันเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอิเล็กทรอนิกส์
13.00 – 16.00 น. นำชมจังหวัดบุรีรัมย์
18.00 – 22.00 น. พิธีปิดและมอบโล่รางวัล
หมายเหตุ – ผู้ที่ชนะการแข่งขันได้รับรางวัลชนะเลิศ จะต้องรอรับรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วย
– กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
การแข่งขันภาคปฏิบัติ
ประกาศผลรางวัล https://elec.bru.ac.th/2023/02/16/op-amp/