

อาจารย์ประจำสาขาเทคโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้าร่วมโครงการอบรม การออกแบบและพัฒนาสถานีอัดประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่
เนื่องจากรถยนต์ที่ขับเคลื่อนจากการสันดาปของเครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ มีปล่อยสารที่ก่อให้เกิดมลพิษต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO), ก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ก๊ซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), ก๊ซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (S02) , ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ก๊ซไฮโดรคาร์บอน (HC) ซึ่งก๊ซต่างๆเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ทำลายชั้นโอโซน เกิดสภาวะโลกร้อน สภาวะเรือนกระจกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ประกอบกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในรถยนต์สันดาปต้องใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติซึ่งใช้แล้วหมดไป ทำให้มีต้นทุนที่ต้องทำลายธรรมชาติและนับวันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากเหตุผลดังกล่าวรถยนต์ไฟฟ้าจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่เพื่อให้เข้ามาแทนที่รถยนต์สันดาป เพราะด้วยข้อดีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานสะอาดและไม่ก่อให้เกิดมลพิษในปัจจุบันการแข่งขันเพื่อพัฒนาประสิทธิและการผลิตที่สูงขึ้น ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีแนวโน้มของราคาที่ต่ำลง ทำให้เกิดความต้องการที่สูงขึ้นตาม การเข้ามาแทนที่ของรถยนต์ไฟฟ้าจึงเริ่มมีปริมาณที่มากขึ้น ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าจำป็นต้องใช้แหล่งพลังงานหลักที่มาจากแบตเตอรี่ที่สามารถทำการประจุใหม่ได้ เป็นตัวกักเก็บพลังงานเพื่อใช้เป็นตัวขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้ให้รถยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปได้และใช้งานในส่วนอื่นภายในตัวรถยนต์ การปรจุแบตเตอรี่ใหม่เพื่อเติมเต็มพลังงานไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นที่ไม่สามรถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นแล้วการจัดตั้งอุปกรณ์บริภัณฑ์ชาร์ทประจุแบตเตอรี่หรือสถานีสำหรับชาร์จประจุแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ฟฟ้า จึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกันที่จะต้องมีการขยายตัวเพื่อรองรับกับการขยายตัวที่สูงขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า
รายละเอียดโครงการ https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1cLdkvT94Wy9-rCZypy7oAKemZpV2NkO7